ผู้ตรวจสอบภายนอกชี้สังคมภายในแอมเนสตี้ "เป็นพิษ"
ต่างประเทศ

ทั้งนี้ การตัดสินใจของไนดูที่ให้มีการตรวจสอบองค์กรโดยองค์กรกลาง เกิดขึ้นหลังนายเกเทน มูตู วัย 65 ปี ฆ่าตัวตายที่สำนักงานของแอมเนสตี้สาขากรุงปารีส พร้อมทิ้งจดหมายระบุสาเหตุของการกระทำอัตวินิบาตกรรมว่าเป็นผลจาก "ความเครียดอย่างสูงในการทำงาน" โดยมีการอธิบายถึงปริมาณงานเพิ่มเติมที่มากเกินไป แม้มีการร้องเรียนขอความช่วยเหลือจากหลายฝ่ายในองค์กรแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง
ขณะที่อีกเพียง 6 เดือนหลังการเสียชีวิตของมูตู น.ส. โรซาลินด์ แมคเกเรเกอร์ พนักงานสัญญาจ้างชาวอังกฤษ วัย 28 ปี ซึ่งประจำการอยู่ที่สำนักงานในเจนีวา กลับมาฆ่าตัวตายที่บ้านพักของเธอในมณฑลเซอร์รีย์ ทางตอนใต้ของเกาะอังกฤษ อย่างไรก็ตาม คอนเทร์รา กรุ๊ปตรวจสอบและวิเคราะห์ปัจจัยอื่นร่วมด้วย ก่อนสรุปว่าแอมเนสตี้เป็นองค์กรที่สร้างความเครียด และแรงกดดันให้แก่พนักงานในระดับที่มากเกินรับได้ สวนทางกับความพยายามสนับสนุนพนักงานที่เป็นการกระทำเพียง "เฉพาะกาลและไม่ได้จริงจัง" นอกจากนี้ยังมีการเลือกปฏิบัติและความไม่ไว้วางใจกันเองภายในองค์กร วัฒนธรรมการทำงานของแอมเนสตี้จึงถือว่า "เป็นพิษ"
อย่างไรก็ตาม สื่อท้องถิ่นของอังกฤษรายงานว่าการพ้นจากตำแหน่งของคณะผู้บริหารแอมเนสตี้สร้างความไม่พอใจให้แก่พนักงานจำนวนไม่น้อย ว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะได้รับ "ค่าชดเชยมหาศาล" ต่างจากการปลดพนักงานบางคนออกจากตำแหน่งเพราะวิกฤติภายในองค์กร.
เครดิตภาพ : Getty Images