ข่าว40ปีนองเลือดที่กวางจู เผด็จการส่งทหารปราบประชาชน ใส่ร้ายเป็นกบฏ - kachon.com

40ปีนองเลือดที่กวางจู เผด็จการส่งทหารปราบประชาชน ใส่ร้ายเป็นกบฏ
ต่างประเทศ

photodune-2043745-college-student-s

40ปีนองเลือดที่กวางจู - เอเอฟพี รายงานบทความพิเศษ เนื่องในวาระครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ลุกฮือของประชาชนที่เมืองกวางจู (ควังจู) ภาคใต้ของประเทศ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านเผด็จการชุน ดูฮวาน ลงเอยด้วยการถูกทหารใช้กำลังปราบปรามจนมีผู้เสียชีวิตราว 165 ราย หลายคนยังหาศพญาติไม่พบ กลายเป็นแผลเป็นทางการเมืองของประเทศมาจนถึงทุกวันนี้

 
 

 

ชเว จุง-จา เป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้พบหน้าสามีมา 40 ปีแล้ว ตั้งแต่สามีหายไปในเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งเริ่มต้นวันที่ 18 พ.ค. เมื่อผู้นำจอมเผด็จการประกาศกฎอัยการศึกให้กองทัพใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วง ก่อนเหตุการณ์ปิดฉากลงวันที่ 27 พ.ค. รวมเวลาวิกฤตนองเลือด 10 วัน

 

40ปีนองเลือดที่กวางจู

จุง คียอง ถือภาพพ่อ นั่งอยู่ข้างๆ นางชเว จุงจา แม่ ขณะเปิดใจกับผู้สื่อข่าวที่บ้านในเมืองกวางจู ถึงเหตุการณ์ที่ทิ้งรอยแผลทางใจไว้ใหเครอบครัว Photo by Ed JONES / AFP) / TO GO WITH SKorea-politics-democracy-NKorea,FOCUS by Claire LEE

 

วันดังกล่าว สามีของนางชเว ขณะนั้นมีอายุ 43 ปี ออกจากบ้านในเมืองกวางจูเพื่อหาซื้อน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงเครื่องทำความร้อน แต่ไม่กลับมาอีกเลย

หลังการปะทะยุติลง นางชเวออกค้นหาสามีด้วยใจร้อนรน แม้แต่ไปเปิดดูโลงศพที่คลุมด้วยธงชาติเกาหลีเปื้อนเลือดเรียงรายตามท้องถนน

 

นายชเว จุงฮวา ผู้สูญหายในเหตุการณ์นองเลือดที่เมืองกวางจู เมื่อ 40 ปีก่อน (Photo by Ed JONES / AFP) / TO GO WITH SKorea-politics-democracy-NKorea,FOCUS by Claire LEE

 

"ฉันทำต่อไปไม่ไหว หลังจากเปิดโลงที่สามดู ใบหน้าคนเหล่านั้นอาบไปด้วยเลือด ไม่อาจจะบรรยายออกมาได้ เป็นใบหน้าที่ดูไม่ออกเลยว่าใครเป็นใคร" นางชเวกล่าว และว่าตั้งแต่นั้นมาต้องกินยาระงับอาการชอกช้ำทางใจ และเหมือนถูกสาป เมื่อเห็นหน้าชุน ดูฮวานทางโทรทัศน์

 

40ปีนองเลือดที่กวางจู

การชุมนุมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2523 ที่เมืองกวางจู (Photo by Handout / 5.18 Memorial Foundation / AFP) /

 

รายงานหลายชิ้นระบุตรงกันว่าผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวถูกฝังทั้งบนบกและทิ้งในน้ำ
ข้อมูลอย่างเป็นทางการ ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตประมาณ 160 คน รวมทั้งทหารและตำรวจ และมีผู้สูญหายอีก 70 คน แต่นักเคลื่อนไหวคาดว่าน่าจะมีผู้เสียชีวิตมากกว่านั้นสามเท่า

แต่หลังจากเหตุนองเลือด กองทัพยังคงปกครองประเทศอีก 8 ปี และทำลายหลักฐานทิ้ง