สมัชชาใหญ่ยูเอ็นชี้อังกฤษคืนหมู่เกาะชากอสให้มอริเชียส
ต่างประเทศ
ทั้งนี้ เอกสารข้อคิดเห็นของไอซีเจ ซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ระบุว่าสหราชอาณาจักรครอบครองหมู่เกาะชากอส "อย่างไม่เป็นธรรม" และควรยุติพันธกรณีดังกล่าวกับมอริเชียส "โดยเร็วที่สุด" เนื่องจากแม้สหราชอาณาจักรจะ "ปลดปล่อย" ให้มอริเชียสเป็นรัฐเอกราช แต่แนวทางปฏิบัติของสหราชอาณาจักรไม่ได้เป็นไปตามกลไกพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและหลักเสรีภาพสากล ในการดำเนินชีวิตของประชาชนบนหมู่เกาะชากอส และยูเอ็นจีเอยังมีมติเพิ่มเติมเรียกร้องให้สหราชอาณาจักรคืนหมู่เกาะชากอสแก่มอริเชียส “ภายใน 6 เดือน”
แม้การแสดงจุดยืนของทั้งไอซีเจและยูเอ็นจีเอในเรื่องนี้ไม่มีผลผูกพันในทางกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ถือว่า “มีน้ำหนักอย่างมาก” ในทางการทูต จากการที่สหรัฐและสหราชอาณาจักรร่วมกันวิ่งเต้นอย่างหนัก ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนถึงวันลงมติ เรียกร้องสมาชิกยูเอ็นงดออกเสียงหรือคัดค้าน “ให้ได้มากที่สุด” อนึ่ง มอริเชียสเป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักรเมื่อปี 2511 ด้วยการ "ซื้อขาย" เพื่อแลกกับการเป็นอิสระ ตามข้อตกลงที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น 3 ปี ในราคาเพียง 3 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง ( ราว 121.3 ล้านบาท )
อย่างไรก็ตาม สหรัฐและสหราชอาณาจักรอ้างว่าหมู่เกาะชากอสความสำคัญในภารกิจต่อต้านการก่อการร้ายและรักษาเสถียรภาพด้านความมั่นคงของโลก เนื่องจากเป็นสถานที่ตั้งของฐานทัพสหรัฐบนเกาะดิเอโก การ์เซีย ซึ่งเป็นเกาะย่อยขนาดใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะชากอส ที่สหรัฐเช่าเป็นสถานที่ตั้งฐานทัพ และ "คุกลับ" ของสำนักข่าวกรองกลาง ( ซีไอเอ ) โดยสัญญาเช่าจะครบกำหนดในปี 2579 ซึ่งนางคาเรน เพียร์ซ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำยูเอ็น กล่าวว่าหมู่เกาะชากอส “ควรอยูภายใต้อธิปไตย” ของสหราชอาณาจักร “อย่างน้อยจนถึงตอนนั้น” ส่วนรัฐบาลมอริเชียวกล่าวว่าจะเตรียมการเจรจากับสหราชอาณาจักร หรือร่วมกับสหรัฐด้วย.
เครดิตภาพ : REUTERS