บริษัทเทคโนโลยีสหรัฐทยอยระงับสัมพันธ์กับหัวเว่ย
ต่างประเทศ
ทั้งนี้ กูเกิ้ลเป็นบริษัทรายใหญ่แห่งแรกที่ประกาศนโยบายดังกล่าว ว่าปัจจุบันแม้อุปกรณ์สื่อสารของหัวเว่ยทุกประเภทยังคงสามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่มีแอปพลิเคชั่นหลักรวมถึงบริการของกูเกิ้ล ไม่ว่าจะเป็นจีเมล ยูทูบ และแผนที่ แต่เมื่อใดก็ตามที่กูเกิ้ลออกระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์รุ่นใหม่ อุปกรณ์ของหัวเว่ยจะไม่สามารถอัปเกรดได้ ซึ่งมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ที่หัวเว่ยมีแผนผลิตและเตรียมจำหน่ายในอนาคตด้วย
ขณะที่หัวเว่ยซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเซินเจิ้นในจีนยังไม่แสดงท่าทีต่อสถานการณ์นี้อย่างเป็นทางการ แต่เคยมีรายงานว่าหัวเว่ยคาดการณ์ตั้งแต่ปีที่แล้ว ว่าสหรัฐมีแนวโน้มเพิ่มแรงกดดันต่อบริษัทด้วยการใช้มาตรการลักษณะนี้ และหัวเว่ย "ได้เตรียมการรับมือไว้แล้ว" ด้านผู้สันทัดกรณีวิเคราะห์เช่นกันว่า ทรัมป์ต้องการเพิ่มแรงกดดันต่อหัวเว่ยเพื่อสร้างกระทบเป็นลูกโซ่ให้แก่นโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เนื่องจากสินค้าหลายรายการของหัวเว่ยอยู่ในโครงการ "เมด อิน ไชน่า 2025" ที่รัฐบาลจีนสนับสนุน
ด้านนายเหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งหัวเว่ย เคยให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์บีบีซีของสหราชอาณาจักร เมื่อกลางเดือนก.พ. ที่ผ่านมา ว่าหัวเว่ยที่เข้าเป้่นผู้ก่อตั้งเมื่อปี 2530 และพัฒนาอย่างก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และผู้นำในการพัฒนาระบบ 5 จี "จะยังคงอยู่ต่อไป" และประกาศชัดว่า "สหรัฐไม่มีทางล้มหัวเว่ยได้".
เครดิตภาพ : AFP