ผู้นำอิหร่านปลุกความสามัคคีรับมือ "ภัยคุกคาม" จากสหรัฐ
ต่างประเทศ
Here's a timeline and history. pic.twitter.com/M9h6fRIYt4— Al Jazeera English (@AJEnglish) May 10, 2019
อย่างไรก็ตาม โรฮานีย้ำว่า อิหร่านจะไม่มีทางยอมแพ้ให้กับแรงกดดันดังกล่าวที่มาจาก "บุคคลภายนอกทั้งสิ้น" พร้อมทั้งย้ำว่าระบบการทำธุรกรรม และการส่งออกพลังงานที่ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติของอิหร่าน "ไม่มีอุปสรรค" เนื่องจากมาตรการกดดันของรัฐบาลวอชิงตันมีผลครอบคลุมเฉพาะด้านอาวุธเท่านั้น ถ้อยแถลงดังกล่าวของโรฮานีเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วัน หลังประกาศยุติการปฏิบัติตามข้อตกลงบางส่วนของข้อตกลงนิวเคลียร์ แม้รัฐบาลเตหะรานยืนยันว่าปริมาณยูเรเนียมเสริมสมรรถนะของอิหร่านยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ใช้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้ตามข้อตกลง แต่หากภายใน 60 วัน รัฐภาคีที่เหลืออยู่ในข้อตกลงยังไม่สามารถผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร "ภายใน 60 วัน" อิหร่าน "จะมีมาตรการเพิ่มเติม"
Iran has called the move "psychological warfare".
Read more: https://t.co/JMFPnZCik2 pic.twitter.com/JhZ0XenDBI— Al Jazeera English (@AJEnglish) May 7, 2019
ทั้งนี้ หลังสหรัฐถอนตัวออกจากข้อตกลงเมื่อเดือนพ.ค. ปีที่แล้วและเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อิหร่านอย่างต่อเนื่อง รัฐภาคีที่ยังเหลืออยู่ในข้อตกลงซึ่งลงนามกันเมื่อปี 2558 ได้แก่ รัสเซีย จีน สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ร่วมด้วยสหภาพยุโรป ( อียู ) และเยอรมนี ในเวลาเกียวกันกองทัพสหรัฐเดินหน้าเสริมสรรพาวุธเข้าร่วมกับกองเรือพิฆาตเฉพาะกิจนำโดยเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ชั้นนิมิตซ์ “ยูเอสเอส อับราฮัม ลินคอล์น” ในอ่าวเปอร์เซีย เพื่อ "เพิ่มแรงกดดัน" ต่อกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิหร่าน ( ไออาร์จีซี ) จากข้อพิพาทเรื่องโครงการนิวเคลียร์.
เครดิตภาพ : AP