สหรัฐคว่ำบาตรอุตสาหกรรมแร่ของอิหร่าน
ต่างประเทศ

ทั้งนี้ ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านเป็นสนธิสัญญาที่รัฐบาลเตหะรานลงนามร่วมกับ 5 ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ( ยูเอ็นเอสซี ) ได้แก่ สหรัฐ รัสเซีย จีน สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ร่วมด้วยสหภาพยุโรป ( อียู ) และเยอรมนี เมื่อปี 2558 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลวอชิงตันของทรัมป์ซึ่งมีนโยบายสายเหยี่ยวต่ออิหร่านอยู่แล้ว ถอนตัวออกเมื่อเดือนพ.ค. ปีที่แล้ว และกลับมาเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรฝ่ายเดียวต่อรัฐบาลเตหะรานอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นอุตสาหกรรมพลังงานและการทำธุรกรรมระหว่างประเทศเป็นหลัก

Iranians back government decision to scale back nuclear commitments#IranDeal #JCPOA pic.twitter.com/REcLKvw5gj— Press TV (@PressTV) May 8, 2019
ขณะที่เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนการประกาศขยายมาตรการคว่ำบาตรของทรัมป์ ประธานาธิบดีฮัสซัน โรฮานี ผู้นำอิหร่าน ลงนามในคำสั่งยุติการปฏิบัติตามข้อตกลงบางส่วนของสนธิสัญญา โดยไม่ได้มีการลงลึกในรายละเอียดอย่างชัดเจน แม้โรฮานียืนยันว่าปริมาณยูเรเนียมเสริมสมรรถนะของอิหร่านยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ใช้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้ตามข้อตกลง แต่หากภายใน 60 วัน รัฐภาคีที่เหลืออยู่ในข้อตกลงยังไม่สามารถปฏิบัติตามสาระสำคัญของข้อตกลง คือการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร "ภายใน 60 วัน" อิหร่าน "จะมีมาตรการเพิ่มเติม"

เครดิตภาพ : AP