สหรัฐเตรียมออกจากสนธิสัญญาการค้าอาวุธของยูเอ็น
ต่างประเทศ
ทั้งนี้ ทรัมป์กล่าวถึงการตัดสินใจดังกล่าว ว่าเพื่อปกป้อง “อธิปไตยของสหรัฐ” และเขาจะไม่มีทางยินยอมให้ “อำนาจจากภายนอกแบบใดก็ตาม” เข้ามา “มีอิทธิพล” ต่อบทบัญญัติเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ของรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพในการผลิต จัดจำหน่ายและครอบครองอาวุธปืน “เพื่อการป้องกันตัวเอง” โดยการที่โอบามาลงนามเข้าร่วมเอทีทีซึ่งเป็นการ “จัดระเบียบ” การค้าอาวุธ สร้างความไม่พอใจอย่างหนักให้กับเอ็นอาร์เอมาตลอด ด้านสหประชาชาติ ( ยูเอ็น ) ยังสงวนท่าทีต่อการประกาศของทรัมป์ แม้ผู้นำสหรัฐใช้โอกาสนี้ลงนามในคำสั่งพิเศษขอฝ่ายบริหาร ว่าด้วยการเตรียมถอนตัวออกจากเอทีที
อนึ่ง เอ็นอาร์เอเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนรายใหญ่ลำดับต้นให้กับแคมเปญหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีของทรัมป์ เมื่อปี 2559 ด้วยวงเงิน 30.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐตลอดแคมเปญ ( ราว 967.27 ล้านบาท ) และทรัมป์เข้าร่วมงานของเอ็นอาร์เอทุกครั้งนับตั้งแต่รับตำแหน่ง ในขณะที่สนธิสัญญาเรื่องอาวุธฉบับนี้มีประเทศร่วมลงนาม 101 ประเทศ ในจำนวนนี้ 29 ประเทศรวมถึงสหรัฐ ลงนามแต่รัฐสภาไม่ได้ให้สัตยาบัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทรัมป์มีนโยบายห้ามการใช้สิ่งที่เรียกว่า “บัมป์สต็อก” ( bump stock ) ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการยิงปืนกลอัตโนมัติ หลังเกิดเหตุกราดยิงที่นครลาสเวกัส เมื่อเดือนต.ค. 2560 มีผู้เสียชีวิตมากถึง 58 คน นับเป็นเหตุกราดยิลงซึ่งลงมือโดยคนร้ายเพียงคนเดียวที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ.
เครดิตภาพ : REUTERS