ข่าวเพนกวินจักรพรรดิเดือดร้อนหนักจากภาวะโลกร้อน - kachon.com

เพนกวินจักรพรรดิเดือดร้อนหนักจากภาวะโลกร้อน
ต่างประเทศ

photodune-2043745-college-student-s
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 26 เม.ย.ว่าวารสารรายปักษ์ “แอนตาร์กติก ไซเอินซ์” ตามปกติแล้วในช่วงเวลานี้ซึ่งกำลังเข้าสู่ฤดูหนาวในซีกโลกใต้หรือทวีปแอนตาร์กติกา เพนกวินจักรพรรดิประมาณ 15,000 ถึง 24,000 คู่ มักเดินทางไปปักหลักอาศัยอยู่บริเวณที่เรียกว่า “ฮัลลีย์ เบย์” ซึ่งเป็นแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดอันกับ 2 ในทวีแอนตาร์กติกาเพื่ออาศัยและเลี้ยงดูลูกที่จะเกิดมา ท่ามกลางอุณหภูมิความเย็นที่ “เหมาะสม” ท่ามกลางภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น แต่ผลการลงพื้นที่สำรวจครั้งล่าสุดของทีมนักวิจัยเมื่อปี 2559 ปรากฏว่าแทบไม่พบคู่เพนกวินจักรพรรดิอยู่เลยในบริเวณฮัลลีย์ เบย์
 

 
นายฟิล ทาราธาน หัวหน้าทีมคณะนักวิจัยในเรื่องนี้กล่าวว่า เป็นสถานการณ์ที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปีที่เกิดสถานการณ์ลักษณะนี้ โดยในแต่ละปี 8% ของคู่เพนกวินจักรพรรดิที่อาศัยอยู่บนโลกมักจะมารวมตัวกันที่ฮัลลีย์ เบย์ เพื่อผสมพันธุ์ ฟักไข่และเลี้ยงดูลูกในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกใต้ ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า สภาพอากาศที่แปรปรวนอาจส่งผลต่อพฤติกรรมองเพนกวินตัวผู้ในการกกและฟักไข่ พร้อมทั้งการเลี้ยงดูตัวอ่อน อนึ่ง เพนกวินจักรพรรดิเป็นเพนกวินขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเพนกวินทุกสายพันธุ์ที่ยังมีอยู่บนโลก โดยมีน้ำหนักสูงสุด 40 กิโลกรัม และอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 20 ปี


อย่างไรก็ตาม เมื่อทีมนักวิจัยย้ายไปสำรวจพื้นที่บริเวณธารน้ำแข็งขนาดเล็กกว่าที่อยู่ไม่ห่างออกไปนัก แต่เพียงพอที่จะเป็นพื้นที่ผสมพันธุ์และฟักไข่ให้กับคู่เพนกวินจักรพรรดิได้ นั่นคือแผ่นน้ำแข็ง “ดอว์สัน-แลมป์ตัน” ซึ่งผลการสำรวจพบว่ามีคู่เพนกวินจักรพรรดิไปฟักไข่ที่นั่นเพิ่มขึ้นจาก 11,117 คู่ เมื่อปี 2560 เป็น 14,612 คู่ เมื่อปีที่แล้ว แต่หากภาวะโลกร้อนยังคงทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเช่นนี้ต่อไป ภายในสิ้นศตวรรษนี้ประชากรเพนกวินทุกสายพันธุ์อาจต้องตายไปประมาณ 50% ถึง 70% เลยทีเดียว.

เครดิตภาพ : AP