ข่าว"มือขวา" ของผู้นำเกาหลีเหนือไม่ได้ร่วมทริปเยือนรัสเซีย - kachon.com

"มือขวา" ของผู้นำเกาหลีเหนือไม่ได้ร่วมทริปเยือนรัสเซีย
ต่างประเทศ

photodune-2043745-college-student-s
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 25 เม.ย. โดยอ้างจากรายงานของสำนักข่าวยอนฮัปซึ่งได้ข้อมูลมาจากหนึ่งในสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของเกาหลีใต้ ว่านายคิม จอง-อึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ ปลดนายคิม ยอง-ชอล ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานสหแนวหน้าแห่งชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานย่อยของคณะกรรมการพรรคคนงานเกาหลี และแต่งตั้งนายจาง กึม-ชอล ให้ดำรงตำแหน่งแทน และให้นายจาง กึม-ชอล ร่วมคณะติดตามเยือนเมืองวลาดีวอสตอคของรัสเซียในสัปดาห์นี้ เพื่อร่วมการประชุมกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย
 


นายคิม จอง-อึน และคณะผู้ติดตาม "ชุดใหม่" เดินทางด้วยรถไฟมายังเมืองวลาดีวอสตอค ทางตะวันออกของรัสเซีย
 
อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายเชื่อว่านายคิม ยอง-ชอล ยังอยู่ในฐานะ "มือขวา" ของนายคิม จอง-อึน โดยน่าจะยังคงตำแหน่งรองประธานพรรคคนงานเกาหลี และยังเป็นหนึ่งในสมาชิกระดับสูงของคณะกรรมการกิจการแห่งรัฐ ที่ผู้นำหนุ่มของเกาหลีเหนืออยู่ในตำแหน่งประธาน ขณะที่กระทรวงรวมชาติและสำนักข่าวกรองแห่งชาติของเกาหลีใต้ ตลอดจนกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ ปฏิเสธให้ความเห็นในเรื่องนี้


Kim Jong Un has made a rare appearance in front of the press in Russia, ahead of his summit with Vladimir Putin.

More here: https://t.co/FY73J2dIgk pic.twitter.com/34d7aKQRg7

— Sky News (@SkyNews) April 24, 2019

ในเวลาเดียวกัน มีการวิเคราะห์ว่ายังเร็วเกินไปที่จะตีความว่า เกาหลีเหนือจะปรับเปลี่ยนท่าทีเรื่องนโยบายนิวเคลียร์นับจากนี้ เนื่องจากนายคิม ยอง-ชอล เป็นบุคคลซึ่งมีจุดยืนด้านนโยบายต่างประเทศต่อสหรัฐค่อนข้างเป็น "สายเหยี่ยว" และเป็นผู้ที่ยึดมั่นในแนวคิด "การปลดนิวเคลียร์" แลกกับการที่รัฐบาลวอชิงตันต้องยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรไปพร้อมกัน แต่มองว่าการที่นายคิม ยอง-ชอล ไม่ได้ติดตามนายคิม จอง-อึน เยือนรัสเซียในครั้งนี้ ทั้งที่ประกบติดกับนายคิม จอง-อึน แทบตลอดเวลา ในการเยือนต่างประเทศทุกครั้งที่ผ่านมา ไล่ตั้งแต่การเยือนจีนมาจนถึงการพบหารือกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ ที่เกิดขึ้นแล้ว 2 ครั้ง คือที่สิงคโปร์ เมื่อเดือนมิ.ย. ปีที่แล้ว และที่กรุงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม เมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมา น่าจะเป็นการแสดงความไม่พอใจของท่านผู้นำต่อ "ความล้มเหลว" ของฮานอยซัมมิตมากกว่า ขณะที่มีรายวานด้วยว่า การพบหารือกับปูตินในครั้งนี้น่าจะเน้นไปที่ "การส่งเสริมความร่วมมือระดับทวิภาคี".

เครดิตภาพ : AP,REUTERS