เอกวาดอร์กล่าวหาแอสซานจ์ใช้สถานทูต "เป็นที่สอดแนม"
ต่างประเทศ
ทั้งนี้ โมเรโนกล่าด้วยว่า รัฐบาลเอกวาดอร์ไม่สามาถอนุญาตให้บุคคลหนึ่งไม่ว่าจะเป็นชาวเอกวาดอร์หรือชาวต่างชาติ ใช้สถานเอกอัครราชทูตซึ่งเป็นสถานที่ทำงานเพื่อภารกิจด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ให้เป็น "ศูนย์ปฏิบัติการจารกรรม" หรือเพื่อปฏิบัติการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นได้ อย่างไรก็ตาม ผู้นำเอกวาดอร์ไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจน ว่าแล้วตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางสถานเอกอัครราชทูตปล่อยให้แอสซานจ์ทำแบบนั้น หรือพยายามเช่นนั้นได้อย่างไร
Fugitive or hero? Read more about Assange here: https://t.co/seRfoDgSow pic.twitter.com/HNdFQ5SBDe— Ridge on Sunday (@RidgeOnSunday) April 14, 2019
ขณะที่น.ส.เจนนิเฟอร์ โรบินสัน หนึ่งในทีมงานฝ่ายกฎหมายของแอสซานจ์ กล่าวตอบโต้ว่าสิ่งที่รัฐบาลเอกวาดอร์ชุดปัจจุบันที่เปลี่ยนจากซ้ายกลาง-ซ้าย เป็นสายกลาง-ขวา เมื่อปี 2560 กำลังกล่าวหาแอสซานจ์อยู่นั้น "เป็นเจตนาแพร่กระจายข่าวเท็จ" เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของสังคม จากการที่แอสซานจ์ถูกเพิกถอนสถานะผู้ลี้ภัยที่ส่งผลให้ถูกจับกุม ปัจจุบันแอสซานจ์ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำเบลมาร์ช ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน เพื่อรอการพิพากษาฐานเจตนาละเมิดเงื่อนไขการประกันตัวจากคดีล่วงละเมิดทางเพศในสวีเดน ซึ่งอาจส่งผลให้แอสซานจ์ต้องรับโทษจำคุกที่เรือนจำแห่งนี้ 12 เดือน แม้ศาลสวีเดนยกฟ้องคดีนี้ไปแล้ว แต่ผู้เสียหายเรียกร้องให้มีการรื้อฟื้นคดีอีกครั้ง แต่หลายฝ่ายพุ่งความสนใจไปในประเด็นที่สหราชอาณาจักรอาจส่งตัวแอสซานจ์ไปยังสหรัฐ เพื่อการไต่สวนและรับโทษในคดีจากรรมข้อมูลด้านความมั่นคงและการทูตของรัฐบาลวอชิงตัน แล้วนำมาเผยแพร่ผ่านวิกิลีกส์ ที่แอสซานจ์ก่อตั้งเมื่อปี 2549.
เครดิตภาพ : AP,REUTERS