4 ประเทศยุโรปบรรลุข้อตกลงแบ่งโควตาผู้อพยพชุดใหม่
ต่างประเทศ
กรณีดังกล่าวยิ่งตอกย้ำว่าสมาชิกอียูทั้ง 28 ประเทศยังคงมีความเห็นไม่ลงรอยกันในหลายประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการผู้อพยพ ซึ่งหลั่งไหลเข้าสู่ภูมิภาคตั้งแต่ปี 2558 ในส่วนของเรืออลัน คูร์ดี ไม่ได้รับอนุญาตให้จอดเทียบเท่าที่มอลตาและอิตาลี แม้เป็น 2 ประเทศซึ่งมีชายฝั่งอยู่ใกล้กับเรือทั้งสองลำที่สุดก็ตาม แต่เรือตรวจการณ์ของรัฐบาลมอลตารับหน้าที่ลากจูงเรือเข้าเทียบท่า "ชั่วคราว" เพื่อให้ผู้อพยพขึ้นฝั่งมารอเจ้าหน้าที่ของแต่ละประเทศมารับตัวไป โดยยังไม่มีรายงานเปิดเผยออกมาอย่างชัดเจนว่าแต่ละประเทศแบ่งสรรโควตาผู้อพยพกันอย่างไร รวมถึงประเทศใดรับผู้อพยพไปมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม นายมัตเตโอ ซัลวินี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กระทรวงมหาดไทยของอิตาลี กล่าวว่ารัฐบาลเบอร์ลินสมควรรับผู้อพยพจากเรือลำนี้มากที่สุด เพราะเป็นเรื่องที่เอ็นจีโอของเยอรมนีดูแลมาตลอด และกล่าวชื่นชมการตัดสินใจของมอลตาว่า "ทำถูกแล้ว" ในขณะที่นายกอร์เดน อิสเลอร์ ประธานของซี-อาย กล่าวว่า "ผิดหวัง" ที่อียูต้องใช้เวลานานเกือบ 2 สัปดาห์ ในการหาทางช่วยเหลือผู้อพยพจากแอฟริกากลุ่มนี้ที่มีเพียง 64 คน
ทั้งนี้ รายงานขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ( ไอโอเอ็ม ) ระบุว่านับตั้งแต่ต้นปีนี้มีผู้อพยพอย่างน้อย 356 คนเสียชีวิตหรือสูญหายระหว่างพยายามข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพื่อมาขึ้นฝั่งที่แผ่นดินใหญ่ยุโรป.
เครดิตภาพ : AP,REUTERS