อียูผ่อนผันเบร็กซิตให้สหราชอาณาจักรถึง 31 ต.ค. นี้
ต่างประเทศ
นายฌอง-โคลด ยุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ( อีซี ) และนายโดนัลด์ ทัสก์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป
ทั้งนี้ ยังไม่มีฝ่ายใดให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเลื่อนกำหนดการออกไปอีกครึ่งปี ท่ามกลางรายงานว่าอียูกำหนดเงื่อนไขหลายอย่างที่เมย์ "ต้องยอมรับและตอบสนอง" ขณะเดียวกัน มีรายงานด้วยว่านายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ผู้นำเยอรมนี เสนอการเลื่อนกำหนดการเบร็กซิตออกไปอีก 1 ปี แต่ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเบลเยียม ออสเตรีย และกลุ่มประเทศสมาชิกอียูขนาดเล็กอีกหลายประเทศ ว่าการเลื่อนกำหนดการเบร็กซิต "ไม่ควรนานขนาดนั้น" และต้องการ "การการันตีอย่างเป็นรูปธรรม" จากสหราชอาณาจักรก่อนการประชุมครั้งใหม่ในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ ที่รวมถึงการไม่ก้าวก่ายการดำเนินการของสมาชิกอียู 27 ประเทศตลอดช่วงเวลาผ่อนผัน เนื่องจากจนถึงเวลานี้ ยังไม่มีใครเข้าใจเลยว่า "ความต้องการที่แท้จริง" ของสหราชอาณาจักร "คืออะไร"
Updates: https://t.co/hMHKyujCg4 pic.twitter.com/QhejP2dvW2— BBC Politics (@BBCPolitics) April 10, 2019
ด้านประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเบร็กซิตมากที่สุดคือไอร์แลนด์ ซึ่งมีพรมแดนติดกับไอร์แลนด์เหนือและเป็นเกาะเดียวกัน ค่อนข้างไม่พอใจกับข้อตกลงครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีลีโอ วารัดการ์ ผู้นำไอร์แลนด์ กล่าวว่าการมอบระยะเวลาผ่อนผันให้กับสหราชอาณาจักรหมายความว่าอีกฝ่ายต้องร่วมการเลือกตั้งสมาชิกสภายุโรป ซึ่งเป็นประเด็นที่สหราชอาณาจักรมีท่าทีค่อนข้างชัดเจนว่าไม่ต้องการเข้าร่วม ดังนั้นหากสหราชอาณาจักรไม่จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภายุโรปตามกำหนดในเดือนพ.ค. นี้ เบร็กซิตควรเกิดขึ้นในวันที่ 1 มิ.ย. นี้
ขณะที่ผู้นำหญิงของสหราชอาณาจักรซึ่งเผชิญกับแรงเสียดทานอย่างหนักจากทั้งในและต่างประเทศ กล่าวถึงการบรรลุข้อตกลงต่อเวลาเบร็กซิตกับอียูว่า เธอเพียงพยายามอย่างสุดความสามารถ ในการนำสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิกของสภาพ "อย่างราบรื่นและเป็นระเบียบเรียบร้อยที่สุด" เท่านั้น และตอนนี้สหราชอาณาจักรยังถือเป็นหนึ่งในสมาชิกของอียู เพียงแต่จะไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมในวาระสำคัญที่เกี่ยวกับเบร็กซิตเท่านั้น .
เครดิตภาพ : AP,REUTERS