มลพิษทางอากาศมีผลต่ออายุคาดเฉลี่ยของประชากรเด็ก
ต่างประเทศ
ทั้งนี้ หากจำแนกออกเป็นภูมิภาค พบว่ามลพิษทางอากาศส่งผลให้เด็กเกิดใหม่ในเอเชียตะวันออกมีอายุคาดเฉลี่ยสั้นลง 23 เดือน มากกว่าหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในอเมริกาเหนือและประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย-แปซิฟิกบางประเทศ ซึ่งอายุคาดสั้นขึ้นโดยเฉลี่ย 20 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลพื้นฐานจากการวิเคราะห์ดังกล่าวซึ่งอ้างอิงจากสถิติขององค์การอนามัยโลก ( ดับเบิลยูเอชโอ ) เมื่อปี 2560 พบว่า หากทั่วโลก "เพิ่มความจริงจัง" ในการจัดการกับวิกฤติด้านมลพิษทางอากาศมากกว่านี้ อายุคาดเฉลี่ยของเด็กชาวบังกลาเทศจะเพิ่มขึ้นเกือบ 1.3 ปี ขณะที่อายุขัยเฉลี่ยของเด็กชาวอินเดีย ปากีสถานและไนจีเรีย จะเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ปี
ส่วนรัฐบาลปักกิ่งที่แม้รัฐบาลเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมการใช้ถ่านหินมากขึ้น แต่จีนยังคงเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตด้วยสาเหตเกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศมากที่สุดเมื่อปี 2560 คือประมาณ 852,000 คน จากประชากรราว 452 ลเานคนในจีนซึ่งกำลังเผชิญกับความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าว รองลงมาคืออินเดีย ปากีสถาน อินโดนีเซีย และบังกลาเทศ.
เครดิตภาพ : AFP