ข่าวพรรครัฐบาลตุรกีร้องเรียนผลการเลือกตั้งอังการา-อิสตันบูล - kachon.com

พรรครัฐบาลตุรกีร้องเรียนผลการเลือกตั้งอังการา-อิสตันบูล
ต่างประเทศ

photodune-2043745-college-student-s
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงอังการา ประเทศตุรกี เมื่อวันที่ 3 เม.ย. ว่านายเบย์รัม ซีโนคักหัวหน้าศูนย์ประสานงานพรรคความยุติธรรมและการพัฒนา ( เอเคพี ) ประจำเมืองอิสตันบูล ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลตุรกีชุดปัจจุบัน แถลงเมื่อวันอังคาร ว่าทางพรรคได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ร้องเรียน "ความไม่ชอบมาพากล" ในการนับคะแนนทั้ง 39 เขตของเมืองอิสตันบูล เนื่องจากผลการนับคะแนนเต็มไปด้วย "ความไม่ชอบมาพากลและความผิดปกติ" ซึ่งรวมถึง "ความไม่สอดคบ้องกันอย่างชัดเจน" ระหว่างจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ์ตามคูหาเลือกตั้ง กับข้อมูลที่หน่วยเลือกตั้งแต่ละแห่งส่งให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง

ในเวลาเดียวกัน นายฮากัน ฮัน ออซกัน ประธานพรรคเอเคพี กล่าวว่าทางพรรคตัดสินใจยื่นเรื่องร้องเรียนแบบเดียวกันนี้ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 25 เขตของกรุงอังการาเช่นกัน ทั้งนี้ ผลอย่างไม่เป็นทางการของการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีกรุงอังการาตามการคำนวณของสำนักข่าวอนาโดลูซึ่งเป็นสำนักข่าวของรัฐ ปรากฏว่านายมานซูร์ ยาวาส ตัวแทนผู้สมัครของพรรคสาธารณรัฐประชาชน ( ซีเอชพี ) ซึ่งเป็นพรรคแกนนำฝ่ายค้าน มีคะแนนนำนายเมห์เหม็ด ออซฮาเซกี ผู้สมัครของพรรรคเอเคพีอยู่ที่ 50.93% ต่อ 47.11% หากคณะกรรมการการเลือกตั้งยืนยันผลตามนี้ จะถือเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปีที่พรรคเอเคพีพ่ายแพ้การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีกรุงอังการา


 
ขณะที่ในส่วนของการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองอิสตันบูลซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศนั้น สำนักข่าวทุกแห่งยังให้ความเห็นไปในทางเดียวกันคือ "สูสีมาก" โดยพรรคเอเคพีส่งอดีตนายกรัฐมนตรีบินาลี ยิลดิริม ลงสมัครชิงตำแหน่ง และมีคะแนนพลิกกลับไปมาตลอดกับนายอีเครม อิมาโมกลู ตัวแทนผู้สมัครของพรรคซีเอชพี โดยทางพรรคเอเคพีกล่าวว่าการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งของเมืองอิสตันบูล "ไม่มีความชัดเจน" ในการประกาศให้บัตรเลือกตั้ง 319,578 ใบ "เป็นบัตรเสีย" อาจส่งผลกระทบต่อผลคะแนนที่แท้จรอง และพรรคเอเคพีต้องการคำอธิเบายเรื่องนี้

อย่างไรก็ตาม เอ็กซิตโพลจากสำนักข่าวทุกแห่งยังคงยกให้พรรคเอเคพีของประธานาธิบดีเรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน "ได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด" ในการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของตุรกี นับตั้งแต่การลงประชามติเมื่อเดือนเม.ย. 2560  แก้ไขรัฐธรรมนูญรวมทั้งสิ้น 18 มาตรา นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบบรัฐสภาเป็นระบบประธานาธิบดี ที่หมายความว่าอำนาจบริหารทั้งหมดในอยู่ในมือของเออร์โดกันเพียงผู้เดียว.

เครดิตภาพ : AP,REUTERS