ดุลอำนาจภายนอก-ภายใน เมื่อไทยเป็นประธานอาเซียน
ต่างประเทศ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคซึ่งมีความเป็นพหุสังคมและพหุวัฒนธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งบนโลก แต่ในความซับซ้อนแตกต่างเหล่านั้นกลับก่อให้เกิดการรวมตัวของ 10 ประเทศที่ตั้งอยู่ภายในภูมิภาคแห่งนี้ เป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( อาเซียน ) ตลอดระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา อาเซียนอยู่ร่วมกันและก้ามข้ามผ่านความท้าทายหลายอย่าง ภายใต้หลักการของ “การไม่แทรกแซงซึ่งกันและกัน” เพราะการรวมกลุ่มกันของอาเซียนตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบูรณาการทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รับค้อนสัญลักษณ์ตำแหน่งประธานอาเซียน จากนายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุง ผู้นำสิงคโปร์
ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่ออาเซียนนับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน ทั้งเป็น 1 ใน 5 ประเทศร่วมก่อตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสถานที่ลงนาม “ปฏิญญากรุงเทพ” และเป็นหนึ่งในประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ภายในภูมิภาค ไทยเคยทำหน้าที่เป็นประธานหมุนเวียนประจำปีของอาเซียนมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี 2538 ในสมัยรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2552 ในสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์รุนแรงทางการเมืองภายในประเทศ และ 10 ปีต่อมาพอดิบพอดี คือในปี 2562 ไทยได้รับเกียรติให้ทำหน้าที่ประธานอาเซียนอีกครั้ง แม้เป็นตำแหน่งที่หมุนเวียนตามตัวอักษรภาษาอังกฤษแรกของแต่ละประเทศ แต่การที่ไทยกลับมารับตำแหน่งดังกล่าวเป็นครั้งที่ 3 เกิดขึ้นท่ามกลางช่วงเวลาที่สถานการณ์ภายในไทยมีความใกล้เคียงกับสถานการณ์เมื่อ 10 ปีที่แล้วในหลายประการ โดยเฉพาะ “ทิศทางทางการเมือง” ในไทยตลอดทั้งปี 2562 ที่จะทำให้ทุกฝ่ายทั้งในอาเซียนและกลุ่มประเทศคู่เจรจานอกอาเซียนต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะแน่นอนว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึงกัน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รับค้อนสัญลักษณ์ตำแหน่งประธานอาเซียน จากนายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุง ผู้นำสิงคโปร์
ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่ออาเซียนนับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน ทั้งเป็น 1 ใน 5 ประเทศร่วมก่อตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสถานที่ลงนาม “ปฏิญญากรุงเทพ” และเป็นหนึ่งในประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ภายในภูมิภาค ไทยเคยทำหน้าที่เป็นประธานหมุนเวียนประจำปีของอาเซียนมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี 2538 ในสมัยรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2552 ในสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์รุนแรงทางการเมืองภายในประเทศ และ 10 ปีต่อมาพอดิบพอดี คือในปี 2562 ไทยได้รับเกียรติให้ทำหน้าที่ประธานอาเซียนอีกครั้ง แม้เป็นตำแหน่งที่หมุนเวียนตามตัวอักษรภาษาอังกฤษแรกของแต่ละประเทศ แต่การที่ไทยกลับมารับตำแหน่งดังกล่าวเป็นครั้งที่ 3 เกิดขึ้นท่ามกลางช่วงเวลาที่สถานการณ์ภายในไทยมีความใกล้เคียงกับสถานการณ์เมื่อ 10 ปีที่แล้วในหลายประการ โดยเฉพาะ “ทิศทางทางการเมือง” ในไทยตลอดทั้งปี 2562 ที่จะทำให้ทุกฝ่ายทั้งในอาเซียนและกลุ่มประเทศคู่เจรจานอกอาเซียนต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะแน่นอนว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึงกัน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
ตราสัญลักษณ์ของไทยในการเป็นประธานอาเซียน ปี 2562